หัตถกรรมไทย

ซอฟต์พาวเวอร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นคำที่ได้รับการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง

หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกต หรือเอะใจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ เป็นคำที่ถูกยกมาใช้ และพูดถึงกัน อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ว่าสื่อใดๆ ในประเทศก็ตาม มักจะนำเสนอว่าประเทศของเรา เป็นประเทศที่มีความได้ เปรียบด้านวัฒนธรรม อันโดดเด่น แม้การนำเสนอ บ้างครั้งอาจ จะเป็นเรื่องดี และเป็นข้อเท็จจริง

บางคนอาจจะมอง เรื่องนี้เป็นแค่เพียง “ของตาย” โดยหลายคนเข้าใจได้ว่า ต้นทุนทางวัฒนธรรมเหล่านั้น สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ โดยไม่ต้องผ่าน การสร้างสรรค์เพิ่มเติม หรือไม่ต้องผ่าน การบริหารจัดการใดๆ อัธยาศัยไมตรี โบราณสถาน อาหาร นาฏกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย มักปรากฏเป็นเงื่อนไขสำคัญ

ยังมี Soft Power เป็นรูปธรรมของประเทศไทย อยู่อีกหมวดหนึ่ง ซึ่งได้สร้างรายได้ กลับเข้ามาสู่ประเทศอย่างมหาศาลในทุกๆ ปี นั้นก็คือสินค้า ประเภทศิลปหัตถกรรม ถึงแม้ว่าในตอนนนี้ โลกจะประสบกับภาวะ เศรษฐกิจถดถอย อย่างรุนแรง ตั้งแต่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของ โรคโควิด-19 ก็ตาม ศิลปหัตถกรรม ก็ยังเป็นสินค้าส่งออก ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ นับแสนล้านบาทต่อปี

หัตถกรรมไทย
คุณค่าและมูลค่า

รายงานของสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ซึ่งมีพันธกิจหลักที่ต้องขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมไทยทุกแขนงได้รายงานภาพรวมของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยตลอดปี พ.ศ.2564 ว่าการส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออกรวม 278,073.46 ล้านบาท

ในขณะที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยตลอดปี พ.ศ.2563 มีมูลค่า 229,124.19 ล้านบาท จึงถือว่ายอดการส่งออกในปี พ.ศ.2564 สูงกว่า พ.ศ.2563 อย่างเห็นได้ชัด โดยหากเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกรายเดือนจะพบว่ายอดส่งออกในแต่ละเดือนของ พ.ศ.2564 จะสูงกว่า พ.ศ. 2563 ทุกเดือน ยกเว้นเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลกระทบ มาจากการระบาดใหม่ของโรคโควิด – 19 ระลอกที่สองในขณะนั้น (เหตุการณ์คลัสเตอร์แพกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร) ตลอดปี พ.ศ.2564 ประเทศที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ตามด้วยเยอรมนี และญี่ปุ่นตามลำดับ และประเทศที่มีมูลค่าส่งออกขยายตัวมากที่สุดนั่นคือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ สำหรับประเภทสินค้าศิลปหัตกรรมของไทยที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดสามลำดับแรกมีดังต่อไปนี้

ลำดับที่ 1 คือสินค้าประเภทเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน มีมูลค่าส่งออก 54,281.90 ล้านบาท
ลำดับที่ 2 คือสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน มีมูลค่าส่งออก 52,670.49 ล้านบาท
ลำดับที่ 3 คือสินค้าประเภทเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง มีมูลค่าส่งออก 45,320.14 ล้านบาท

และสำหรับปี พ.ศ.2565 แม้ว่าภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด – 19 จะเริ่มคลี่คลายลงแล้วนั้น แต่ควา,ถดถอยของเศรษฐกิจยังคงเป็นวิกฤตที่ทั่วโลกกังวล เพราะตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาโลกก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ นั่นคือวิกฤตอันเป็นผลพว งมาจากความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามยืดเยื้อ อันนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ

และการปรับตัวสูงขึ้นของเครื่องอุปโภคและบริโภค รวมถึงวิกฤตด้านภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเป็นระลอกด้วย แต่แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะไม่สดใสนัก แต่สินค้าประเภทศิลปหัตถกรรมของไทยก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 SACIT รายงานว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยห้าเดือนแรกของปี (มกราคม – พฤษภาคม)

การส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีมูลค่าการส่งออกรวม 136,267.56 ล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 36,759.73 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.94 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาห้าเดือนแรกของปีก่อน (พ.ศ.2564) ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 99,507.83 ล้านบาท และนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นมา มูลค่าการส่งออกในปีนี้เป็นรายเดือนมีมูลค่ามากกว่าปีก่อนหน้าทุกเดือน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนล่าสุด เฉพาะเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดที่มีการสรุปตัวเลขออกมาพบว่า ภายในเดือนนี้มีมูลค่าการส่งออกมากถึง 30,559.18 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.43 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมของปีก่อน โดยประเทศที่เป็นตลาดส่งออกซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 10,886.51 ล้านบาท

ประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกมากที่สุดคือกาตาร์ โดยขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,514.71% กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดคือเครื่องเงินและเครื่องทอง ซึ่งสามารถทำรายได้มากถึง 15,946.03 ล้านบาทภายในเดือนเดียว (คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 67.35%) เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ของปีก่อน

ในขณะที่งานหัตถกรรมและผ้าทอมือถือเป็นสินค้ากลุ่มศิลปหัตถกรรมไทยที่สร้างรายได้มากเป็นอันดับรองลงมา อยู่ที่ 7,752.06 ล้านบาท (อัตราเติบโต 28.42%) และ 6,199.16 ล้านบาท (อัตราเติบโต 25.91%) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน ตัวเลขเชิงสถิติข้างต้นนั้น เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นว่า งานศิลปหัตถกรรมไทยนั้น

เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก สามารถสร้างรายได้ ให้กับประเทศไทยได้มากเป็นประจำทุกปี และโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่แสนจะผันผวนในปีนี้ด้วย รายได้ข้างต้นนั้นไม่ได้ยังประโยชน์ ให้ตกอยู่กับเฉพาะเจ้าของกิจการหรือโรงงานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง เศรษฐกิจชุมชนมากมาย ที่มีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม

และยังสามารถสร้างรายได้ ให้แก่ลูกจ้างทั่วไป ที่อยู่ในฟันเฟืองของงานนี้ทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นงานที่สามารถสร้างประโยชน์ ให้แก่คนหลายกลุ่มในสังคม แต่กว่าศิลปหัตถกรรมของไท ยจะเดินทางมาถึงการเป็นสินค้าส่งออก มูลค่านับแสนล้านบาท ในปีนี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเมื่อราวห้าสิบปีก่อน คุณค่าของศิลปหัตกรรมเหล่านี้ แทบจะไม่เหลืออยู่เลยในสายตาของคนไทย

และก็คงมีน้อยคนที่จะคาดคิดได้ว่า วันหนึ่งศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเหล่านี้จะกลายเป็นมูลค่าอันน่าภาคภูมิใจของเศรษฐกิจไทยในตลาดโลกได้

ขอบคุณ แหล่งที่มา : reporter-journey.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : lancer-club.net