เด็กติดเกม เป็นปัญหาของหลายบ้าน เด็กติดเกมจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อถูกห้ามหรือถูกบังคับให้หยุดเล่นเกม ปัญหาอาจจะมีบ่อเกิดมาจากสมาชิกภายในบ้าน ที่ดูแลเอาใจใส่เด็กไม่เพียงพอจนทำให้พวกเขาหันมาพึ่งพาเกม เป็นเพื่อนและเป็นกิจกรรมแก้เบื่อจนติดงอมแงม แต่ปัญหามีวิธีแก้ได้โดยการสอดส่องพฤติกรรมการเล่นเกมของลูกหลาน และเริ่มสร้างข้อตกลง กฎ กติกา กับพวกเขาเพื่อให้มีระเบียบวินัยในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเล่นเกม

เด็กติดเกม มีลักษณะเป็นอย่างไร

1. ใช้เวลากับการเล่นเกมมากจนเกินไป

เด็กติดเกมจะไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืนจนทำให้เด็กติดเกมในที่สุด

2. แสดงความก้าวร้าวเมื่อไม่พอใจ

เด็กติดเกมมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง เพราะเมื่อลูกจดจ่อกับเกมที่มีเนื้อหารุนแรงหรือส่งผลให้เกิดความเครียด เด็กติดเกมจะมีพฤติกรรมชอบทำเสียงดัง โวยวาย และหงุดหงิดได้ง่าย หากคุณแม่ไม่รีบตักเตือน พวกเขาก็จะเคยชินจนเป็นนิสัย และแก้ได้ยากเมื่อโตขึ้น

3. มีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก

เด็กติดเกมจะไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะได้เล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

4. สมาธิสั้น ไม่จดจ่อกับการเรียน

ในเกมจะมีสิ่งเร้าที่คอยรบกวนสมาธิของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ แสงสี หรือเสียงต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้พวกเขามองหาความสนุกหรือสิ่งที่น่าสนใจตลอดเวลา จนไม่สามารถจดจ่อกับอะไรที่ต้องใช้ความอดทน อย่างการเรียน การออกกำลังกาย หรือการทำงานบ้านได้

5. เริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก

เพราะเด็กติดเกมมองว่ากิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกมออนไลน์เป็นอะไรที่น่าเบื่อ ใช้เวลานาน แถมยังต้องลงมือทำอย่างมากกว่าจะได้มาซึ่งรางวัล การเล่นเกมจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ มีความสุขได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย จนนำไปสู่การเก็บตัว และไม่ยอมไปพบปะกับเพื่อนโรงเรียน

6. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย

เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว ฯลฯ

สาเหตุของการที่เด็กติดเกม

สาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกม ไม่ได้มีเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่การติดเกมเป็นเพียงผลลัพธ์ของหลายๆ ปัจจัยที่ผสมผสานและเกี่ยวข้องกันอยู่ สาเหตุหลักๆ ได้แก่

1. การเลี้ยงดูในครอบครัว

มักจะพบเด็กติดเกมได้บ่อยในครอบครัวที่เลี้ยงโดยไม่เคยฝึกให้เด็กมีวินัยในตัวเอง ขาดกฎระเบียบ กติกาในบ้าน ตามใจเด็ก หรือ มักจะใจอ่อนไม่ทำโทษเมื่อเด็กกระทำผิด บางครอบครัวมีลักษณะที่สมาชิกในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทำ หรือไม่มีกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทำร่วมกัน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่น ทำเพื่อให้ตัวเองสนุก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการเล่นเกม พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคุมเด็ก หรือมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็กในช่วงแรก พ่อแม่อาจรู้สึกพอใจที่เห็นเด็กเล่นเกมเงียบๆ คนเดียวได้โดยไม่มารบกวน ให้ตนมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น พูดง่ายๆ คือใช้เกมเสมือนเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กแทน

2. สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

สังคมยุคไฮเทคที่มีเครื่องมือที่มีพลังในการเร้าความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างมหาศาล สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดแคลนกิจกรรม หรือสถานที่ที่เด็กจะได้ใช้ประโยชน์หรือเรียนรู้โดยไม่รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย เป็นแรงผลักดันให้เด็กหันไปใช้การเล่นเกมเป็นทางออกและกลายเป็นเด็กติดเกม

3. ปัจจัยในตัวเด็กเอง

เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นเด็กติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ (low self-esteem)

เด็กติดเกม

วิธีป้องกันไม่ให้เด็กติดเกม

  1. กำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะเล่นเกม หรืออนุญาตว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้ครั้งละไม่เกินกี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้องรับผิดชอบทำอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทำการบ้านให้เสร็จก่อน ฯลฯ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร (แนะนำให้ใช้วิธีริบเกม หรือตัดสิทธิการเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตามกติกาที่ตกลง)
  2. วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กติดเกมกลายเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน
  3. วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  4. ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้
  5. เอาจริง เด็ดขาดหากเด็กติดเกมไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน ถอดสายโมเด็มออก ฯลฯ
  6. ส่งเสริม จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่น (ที่สนุกพอๆ กับ/หรือมากกว่าการเล่นเกม) ให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว
  7. หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก
  8. สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม

ลูกติดเกมส่งผลกระทบอะไรบ้าง

นอกจากลูกติดเกมจะส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันทั่วไปแล้ว การเล่นเกมจนมากเกินพอดีจริงๆ แล้วจะส่งผลกระทบในหลากหลายด้าน ดังนี้

  • ด้านการเรียน

เด็กติดเกมจะไม่ค่อยอยากไปโรงเรียนหรืออาจจะไปโรงเรียนสาย เพราะจะทุ่มเทเวลาไปกับการเล่นเกมมากกว่า และแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลให้ผลการเรียนแย่ลง พร้อมกับอาจจะมีปัญหาทางด้านการเข้าสังคมกับเพื่อนในโรงเรียนตามมา

  • ด้านสุขภาพจิต

ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเป็นผลกระทบต่อเนื่องที่เมื่อเด็กมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม ก็จะทำให้เขารู้สึกแปลกแยก ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนคนอื่นได้  จนอาจเกิดปมด้อยในใจขึ้น

  • ด้านสุขภาพร่างกาย

การทุ่มเทเวลาไปกับการเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้เด็กไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อน จนสุดท้ายจะทำให้สุขภาพทรุดโทรมและเกิดการป่วยได้

  • ด้านพฤติกรรม

การที่ลูกติดเกมมากๆ แนวโน้มพฤติกรรมจะเสี่ยงต่อความก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง และจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อถูกขัดจังหวะหรือถูกห้ามในการเล่นเกม

พ่อแม่สามารถแก้ปัญหาลูกติดเกมได้อย่างไรบ้าง

  1. เข้าหาลูกของเราโดยใช้ความสัมพันธ์และท่าทางที่เป็นมิตร
  2. วางกติกาการเล่นเกมให้ชัดเจนก่อนที่จะให้ลูกเล่นเกม
  3. พยายามจริงจังกับกติกาที่วางไว้ หลีกเลี่ยงการผ่อนปรนหรือปล่อยให้กติกาหละหลวม
  4. ใช้กิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ ที่ลูกสนใจเข้ามาทดแทน เพื่อลดเวลาในการเล่นเกมลง และควรชมเชยหากลูกสามารถทำกิจกรรมนั้นได้ดี
  5. เน้นการปรับแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรัดลูกจนเกินไป
  6. เน้นการดูแลในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด คอยให้คำแนะนำให้ใช้งานอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์
  7. ทุกคนในครอบครัวควรหาข้อตกลงในการใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกัน เวลาใดใช้ได้หรือเวลาใดใช้ไม่ได้ สถานที่ใดควรใช้หรือไม่ควรใช้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างพอดี
  8. ชักชวนลูกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น ไปแคมป์ เป็นต้น เพื่อให้ไปเจอคนใหม่ๆ สถานที่ใหม่ ๆ
  9. ปรับประเภทของเกม ให้เป็นเกมที่เน้นพัฒนาสมองแทน
  10. ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการต่างๆ จากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางโดยตรง

ลูกติดเกมจนไม่ยอมไปโรงเรียนทำอย่างไรดี

ลูกติดเกมจนไม่ยอมไปโรงเรียนเป็นปัญหาที่หลายครอบครัวต่างก็กำลังประสบอยู่ พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนไม่สามารถทำให้ลูกไปโรงเรียนตามปกติได้ ซึ่งการที่ลูกไม่ได้ไปโรงเรียน จะมีผลเสียเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้น หากครอบครัวใดกำลังเจอปัญหานี้อยู่ ทางเราอยากแนะนำให้รู้จักกับการเรียนแบบ Home School ซึ่งเป็นระบบการเรียนที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถออกแบบการเรียนให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการเรียนให้ลูกของเรามีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมที่สนใจไปพร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องไปโรงเรียน ซึ่งสามารถทำ Home School ได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย

แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องมาคอยสอนลูกเองทั้งหมดเพราะการเรียนแบบ Home School นั้น เราสามารถเรียนกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้ หรือถ้าเป็นเด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็จะมีหลักสูตรวุฒิเทียบเท่าม.ต้น – ม.ปลายของต่างประเทศเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเรียนกับสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ ได้ โดยวุฒิเทียบเท่าดังกล่าวก็มีให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น GED ที่เป็นหลักสูตรของอเมริกา หรือ IGCSE & A Level ที่เป็นหลักสูตรของอังกฤษ เมื่อสอบผ่านหลักสูตรเหล่านี้ก็จะได้ Diploma และ Transcript นำไปใช้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้เลย

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากพฤติกรรมการเล่นเกมของลูกเบื้องต้นได้ ว่ามีลักษณะของเด็กติดเกมตามเนื้อหาด้านบนหรือไม่ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาลูกติดเกม แล้วต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงก็สามารถติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ศูนย์บำบัดวัยรุ่นติดเกม คลินิกติดเกม เพื่อให้ลูกของเราหายจากการเป็นเด็กติดเกมได้ในที่สุด

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ lancer-club.net
สนับสนุนโดย  ufabet369